PhD in ELT

Doctor of Philosophy Program in English Language Teaching

PhD in ELT

Doctor of Philosophy Program in English Language Teaching หลักสูตรปริญญาเอกที่จะสร้างความรู้ และความเข้าใจในศาสตร์ด้านการเรียน การสอนภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้ง โดยเน้นสร้างศักยภาพให้กับผู้เรียน ทั้ง 2 ด้าน คือ

PhD Program in ELT provides a unique research experience that promotes professional development and educational leadership. From the coursework to the dissertation, students will take an arduous but rewarding journey towards academic success and profound insight. Students learn to be independent researchers who can pursue advanced studies on the topics of their interest with their own self-efficacy and self-regulation.

Assoc. Prof. Dr. Supong Tangkiengsirisin

ทำไมต้องเรียนกับเรา

เรียนกับผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติ

Assoc. Prof. Dr. Christopher Jenks

Aalborg University, Denmark

Prof. Dr. Anne Burns

University of New South Wales, Australia

Dr. Willy Renandya

Nanyang Technological University, Singapore

Dr. Willy Renandya

Nanyang Technological University, Singapore

Prof. Dr. Averil Coxhead

Victoria University of Wellington, New Zealand

Dr. Jon Wright

Manchester Metropolitan University, England

Prof. Dr. Rob Waring

Notre Dame Seishin University, Japan

Prof. Dr. Paul Kei Matsuda

Arizona State University, USA

ไฮไลต์ของหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตร

สอ. 721 : นวัตกรรมในการสอนภาษาอังกฤษ

ทฤษฎีทางนวัตกรรม การออกแบบนวัตกรรม การนํานวัตกรรมไปดําเนินการประยุกต์ใช้ การประเมินผล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จ การศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ศาสตร์การสอนภาษาอังกฤษ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยี วัฒนธรรม จิตวิทยา หลักสูตร การวัดผล การพัฒนาวิชาชีพครู และระเบียบวิธีวิจัย

สอ. 722 : ระเบียบวิธีวิจัยในด้านการสอนภาษาอังกฤษ

ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยสําหรับงานวิจัยด้านการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและเชิงผสมผสาน ฝึกเตรียมเค้าโครงงานวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

สอ. 723 : การวัดผลในการสอนภาษาอังกฤษ

หลักการในการสอบและวัดผล คุณลักษณ์ของแบบทดสอบ การออกแบบ และตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดผลทางภาษา งานวิจัยด้านการวัดผลและการนํางานวิจัยมาใช้ประโยชน์

สอ. 724 : การวิเคราะห์งานวิจัยทางการสอนภาษาอังกฤษ

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อนําองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทําวิจัยระดับสูง

สอ. 716 : ภาษา การใช้ตามหลักภาษา และปริชาน

มุมมองภาษาด้านการใช้ตามหลักภาษา ศึกษาการเรียนรู้ภาษาด้านปริชานและสังคม จากการใช้ตามหลักภาษา ตลอดจนการพัฒนาสามัตถิยะเชิงปฏิสัมพันธ์เป็นภาษาที่สอง ศึกษางานวิจัยและนําไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

สอ. 717 : การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์สําหรับการสอนภาษาอังกฤษ

การสํารวจและตรวจสอบทฤษฎีภาษาศาสตร์ทางด้านไวยากรณ์และความหมายที่ใช้เป็นกรอบความคิดในการทําวิจัยการเรียนรู้ภาษาที่สอง ทฤษฎีเหล่านี้ยังเป็นหลักในการสร้างข้อทดสอบที่จะใช้ในการทดลอง รวมถึงวิธีการทดลอง และการอภิปรายผลการทดลอง

สอ. 718 : ปริจเฉทวิเคราะห์เพื่อการสอนภาษาอังกฤษ

เข้าใจแนวคิดและทฤษฎีที่สําคัญในการวิเคราะห์ปริจเฉททั้งในภาษาพูดและภาษาเขียนภาษาอังกฤษ สามารถวิเคราะห์การใช้ภาษาอังกฤษในบริบทที่หลากหลาย วิจัย และนําไปประยุกต์ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

สอ. 719 : ภาษาศาสตร์คลังข้อมูลเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ

การอภิปรายพื้นฐานแนวคิดทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูล การพัฒนาคลังขัอมูลภาษาเพื่อการวิจัยและการสอนภาษาอังกฤษ หัวข้อคัดสรรทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูลเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ การใช้ระเบียบวิธีทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ภาษาอังกฤษและการทําวิจัยทางการสอนภาษาอังกฤษ

สอ. 726 : การพัฒนาสื่อในการสอนภาษาอังกฤษ

สื่อการสอนภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ สื่อเทคโนโลยี สื่อที่ไม่ใช่เทคโนโลยี สื่อสภาพจริง ทฤษฎีทางการรับรู้ภาษาและทางการสอนภาษาที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อการสอน การนําหลักการมาประยุกต์ใช้ในการเลือกสรร ออกแบบ ผลิตดัดแปลง นําไปปฏิบัติ และประเมินสื่อต่าง ๆ เพื่อทําให้การเรียนการสอนมีประสิทธิผลมากขึ้น แง่มุมต่าง ๆ ในการพัฒนาสื่อการสอน เช่น การเขียนคําสั่ง การใช้รูปภาพ การวางแบบการจัดหน้า การทบทวนเชิงวิพากษ์งานวิจัยทางด้านสื่อการสอนต่าง ๆ ประสบการณ์ตรงในการพัฒนาสื่อ เพื่อบริบทและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ

สอ. 816 : สัมมนาทางการรับภาษาที่สอง

มุมมองทางทฤษฎีร่วมสมัยของการรับภาษาที่สอง หัวข้อคัดสรรทางการรับภาษาที่สอง ความสําคัญของการรับภาษาที่สองต่อการสอนภาษาอังกฤษ แนวโน้มในปัจจุบันของงานวิจัยด้านการรับภาษาที่สอง

สอ. 817 : สัมมนาภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการวิจัยทางการสอนภาษาอังกฤษ

หัวข้อคัดสรรงานวิจัยภาษาศาสตร์ประยุกต์ร่วมสมัย ด้านการเรียนการสอนภาษา การใช้ภาษา รวมถึงภาษาในสังคมและสาขาวิชาต่างๆ

สอ. 818 : สัมมนาการพัฒนาและประเมินหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ

หัวข้อคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและประเมินหลักสูตรทางการสอนภาษาอังกฤษ ประเด็นปัจจุบันที่เกี่ยวกับกรอบทฤษฎีการออกแบบหลักสูตรที่สําคัญ ๆ และการวิจัยบทบาทของนโยบายทางภาษาในการใช้และการประเมินหลักสูตร

สอ. 819 : สัมมนานานาภาษาอังกฤษโลกเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ

ศึกษาประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับนานาภาษาอังกฤษโลกในการสอนภาษาอังกฤษ ศึกษาแนวคิดและหลักการของนานาภาษาอังกฤษโลก และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการออกแบบวิชา และบทเรียน ศึกษางานวิจัยทางด้านภาษาอังกฤษโลก เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

สอ. 826 : สัมมนาวิธีการสอนภาษาอังกฤษ

หัวข้อคัดสรรเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับวิธีการสอนภาษารูปแบบต่าง ๆ และแนวคิดทฤษฎีซึ่งเป็นที่มาของวิธีการสอนภาษารูปแบบเหล่านั้น อันเป็นพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนการสอนบทเรียนภาษาอังกฤษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

สอ. 827 : สัมมนาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ

หัวข้อคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ อาทิ พื้นหลังที่สําคัญ การออกแบบวิชาที่เป็นธรรม กลวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียน การประเมินผลผู้เรียนและวิชาอย่างไม่มีอคติ และหัวข้อการวิจัยร่วมสมัยด้านภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ

สอ. 828 : สัมมนาการพัฒนาวิชาชีพของครูภาษาอังกฤษ

วิชาสัมมนาที่มุ่งเน้นไปที่การวิจัยเพื่อความเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพสําหรับครูสอนภาษาอังกฤษในแง่มุมความเชื่อและอัตลักษณ์ของครู แง่มุมทักษะและวิธีการการสอน แง่มุมสมิทธิภาพทางภาษาของครู แง่มุมทักษะการวิจัยและทักษะการสะท้อนคิดของครู แง่มุมเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่ และแง่มุมคุณค่าของการพัฒนาวิชาชีพ

สอ. 829 : สัมมนาการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อการสอนภาษาอังกฤษและการวิจัย

หัวข้อคัดสรรด้านทฤษฎี ปฏิบัติ และการสอนที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อการศึกษาและงานวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

สอ. 904 : ดุษฎีนิพนธ์

การออกแบบโครงการวิจัย และการดําเนินงานวิจัยอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ การเขียนดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ กระบวนการรับรู้ภาษาอังกฤษ นวัตกรรมในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การประยุกต์ความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ หรือภาษาศาสตร์ประยุกต์ และการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์การเขียนดุษฎีนิพนธ์ตามหลักจริยธรรมและหลักจรรยาบรรณในการทําวิจัย

เรียนหลักสูตรนี้แล้วจะได้อะไรบ้าง

จากนักศึกษาของเรา

As a PhD alumni, I was fully supported in expressing my opinions through meaningful discussions of pedagogy and fully able to integrate my passions and creativity into my studies. It wouldn’t be an exaggeration to say that this program is of the highest quality in the field of ELT.

Dr. Buarattana Attachoo / PhD in ELT #5

The PhD program in ELT at LITU prepares us for roles as future leaders in classroom innovation, pedagogy, and state-of-the-art research for the development of new approaches and solutions to real-world needs.

Nuntapat Supunya / PhD in ELT #10

The PhD in ELT program at LITU offers an excellent opportunity to learn from skilled and qualified professors. All courses emphasize practice and provide a critical understanding of research methodology as well as innovative teaching approaches. This enables students to conduct research projects that fully prepare them for academic professions.

Parinya Khumruk / PhD in ELT #11

Empowering Educators, Transforming Language Learning

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

Thai Student

565,840 บาท

  • ค่าหน่วยกิต
  • ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่
  • ค่าธรรมเนียมการใช้ห้องสมุด
  • ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
  • ค่าอินเตอร์เน็ต
  • ค่าธรรมเนียมพิเศษ
  • ประกันอุบัติเหตุ
International Student

673,840 บาท

  • ค่าหน่วยกิต
  • ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่
  • ค่าธรรมเนียมการใช้ห้องสมุด
  • ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
  • ค่าอินเตอร์เน็ต
  • ค่าธรรมเนียมพิเศษ
  • ประกันอุบัติเหตุ

ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายดังนี้
– ค่าธรรมเนียมการสอบ Qualifying Examination 500 บาท
– ค่าธรรมเนียมการจบการศึกษา 1,000 บาท

คำถามที่พบบ่อย

1. เตรียมเอกสารประกอบการสมัคร
ผู้สมัครเตรียมเอกสารประกอบการสมัครในรูปแบบไฟล์ PDF และตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด สามารถดูเอกสารทั้งหมดที่หัวข้อการเตรียมเอกสาร

2. กรอกใบสมัครผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
ผู้สมัครชำระเงินค่าสมัครและกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้เรียบร้อย พร้อมแนบหลักฐานการชำระเงินและเอกสารต่างๆ ที่เตรียมไว้ในแบบฟอร์มรับสมัคร

3. ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ หลังจากนั้นสถาบันภาษาจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษา โดยเจ้าหน้าที่จะติดต่อและชี้แจงรายละเอียดผู้สมัครทุกท่าน

เตรียมเอกสารรับสมัคร

  1. ข้อเสนอโครงร่างวิจัย (Research proposal) ประมาณ 1,500 – 2,000 คำ
  2. สำเนาใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ที่ระบุวันที่สำเร็จการศึกษา และ สำเนาปริญญาบัตร (หรือหนังสือรับรองวุฒิการศึกษา) ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท อย่างละ 1 ฉบับ
  3. ผลคะแนนภาษาอังกฤษ อายุไม่เกิน 2 ปี 1 ฉบับ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    – TU-GET (CBT): 79 คะแนน
    – TU-GET (PBT): 550 คะแนน
    – TOEFL (iBT): 80 คะแนน
    – TOEFL (ITP): 550 คะแนน
    – IELTS: 6.5
  4. สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
  5. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ พื้นหลังเป็นสีพื้น 1 รูป
  6. เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล 1 ฉบับ

ผู้สมัครเตรียมเอกสารทุกอย่างเป็นไฟล์ PDF และตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนดในแบบฟอร์มรับสมัคร จากนั้นอัปโหลดเอกสารในแบบฟอร์ม

หลักสูตร PhD in ELT ของเรายินดีต้อนรับนักศึกษาที่จบจากทุกสาขาวิชาเรียน และไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ ผู้ที่ทำสารนิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระมาก็สามารถสมัครเรียนได้ 

เรียนสูตรนี้เรียน Full-time ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ที่ตึกสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

หลักสูตร PhD in ELT มีทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาให้กับนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ ผู้ที่สนใจสามารถสมัครขอรับทุนได้ โดยสามารถดูรายละเอียดได้ ที่นี่

นอกจากนี้เมื่อเข้ามาเรียนในหลักสูตรแล้ว ยังมีทุนสนับสนุนการเข้าประชุม อบรม สัมมนา นำเสนอวิทยานิพนธ์ ณ ต่างประเทศด้วย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ ที่นี่

 

หลักสูตร PhD in ELT จัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid สำหรับบางวิชาจะสามารถเลือกเข้าเรียนในห้องเรียนหรือเรียนออนไลน์ได้

Knowledge sharing

แบ่งปันความรู้

ติดต่อเรา